"ธนาคารไม่ได้รักคุณ แต่ ธนาคารรักเงินคุณ"
หลายวันก่อนผมไปเยี่ยม บริษัท ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการ รีไฟแนนซ์
ในใจผมก็เกิดคำถามว่า..
"หน้าที่การให้ความรู้ เรื่อง รีไฟแนนซ์ มันควรจะเป็น หน้าที่ ธนาคารรึป่าว"
มันใช่เรื่องที่ ลูกค้า ต้องมาให้ความรู้กันเองไหม?
คนส่วนใหญ่ ไม่รู้เลยว่า พวกเค้าสามารถ ต่อรองดอกเบี้ยให้ถูกเหมือน 3 ปีเเรกที่กู้ได้
ซึ่งถ้า พวกเค้าต่อรองดอกเบี้ย หรือ รีไฟเเนนซ์ อย่างต่อเนื่องเนี่ย พวกเค้าจะผ่อนเสร็จสิ้น เร็วขึ้น 10 ปี
มองในมุมกลับกันเเล้ว มันจะทำให้ธนาคารได้รับดอกเบี้ย ลดลงไป 10 ปี เช่นกัน
นี่คือ สาเหตุ รึป่าว ที่พวกเค้าไม่บอก?
ธนาคารไม่ได้รักคุณเกินกว่า ผลประโยชน์ของเค้า
สาเหตุที่ ความรู้ทางการเงิน เป็นสิ่งที่ถูกบิดเบือนมากที่สุด
ก็เพราะ มีคนมากมายต้องการจะรีดเงินจากผู้คน
ธนาคารนำเงิน จากคนส่วนใหญ่ไปให้คนส่วนน้อย
ถ้าวันนี้ ธนาคารไม่ได้เอาเงินให้คุณ
เเสดงว่า ธนาคารเอาเงินคุณไปให้คนอื่น รวย
ไม่มีเศรษฐีคนไหน รวยจากการออมเงิน
ทุกคนล้วนรวยจากการใช้เงินคนอื่น
เเละ คนที่เป็นตัวกลางก็คือ ธนาคาร
---------
"เงินจะไปหาคนที่มีความฉลาดทางการเงิน" Robert Kiyosaki
คอร์ส ไขความลับทางการเงิน
คุณจะได้รู้
ความรู้ทางการเงินที่ถูกปกปิด
ธนาคาร ขโมยเงินของคุณอย่างไร
ประกัน เอาเปรียบคุณอย่างไร
และ รัฐบาล ปกครองคุณอย่างไร
โลกนี้หมุนได้ด้วยหนี้
ถ้าเข้าใจเงิน ก็เข้าใจโลก
วิธีที่คนรวยใช้ ให้เงินเข้ามาหา
คุณก็จะได้ไปเช่นเดียวกัน
รอบนี้เป็นรอบพิเศษ ที่ผมตั้งใจทำ
ลดจาก 4900 บาท เหลือ 2900 บาท
วันที่ 25 มีนาคม 2561
รอบสด รับเพียง 15 ที่เท่านั้น
สนใจรับส่วนลด
http://line.me/ti/p/%40spc2852x
หรือ ดูรายละเอียด
https://goo.gl/forms/8ayJpx6vSltG9UfF2
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過196萬的網紅TeamGarryMovieThai,也在其Youtube影片中提到,►PART 5 : https://www.youtube.com/watch?v=6fasoWW53b0 เรื่องราวที่แสนมันส์เข้มข้นกับพลังและ learn ไปกับลีพุงในเกมส์ "Infamous Second Son" เมื่อ 7 ปีที...
「รัฐบาล หน้าที่」的推薦目錄:
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 KIM Property Live Facebook 的最佳解答
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 TeamGarryMovieThai Youtube 的精選貼文
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 อนาคต "รัฐบาลประยุทธ์" หลังศาลสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่ | คมชัดลึก 的評價
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): หน้าหลัก 的評價
- 關於รัฐบาล หน้าที่ 在 หน้าที่ของรัฐบาลหน้าที่ของรัฐบาลคืออะไร? | By Suthichai Live 的評價
รัฐบาล หน้าที่ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ความรู้ทั่วไปของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ในการจัดทำบริการสาธารณะทางปกครอง ถ้าไม่มีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือให้ฝ่ายปกครอง ฝ่ายปกครองก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะหลักนิติรัฐ ได้กำหนดไว้ คือ การกระทำใดๆของฝ่ายปกครองต้องกระทำชอบด้วยกฎหมายและต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจไว้ และต้องมีองค์กรมาควบคุมการกระทำทางปกครองด้วย ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
1. ความหมายและวิวัฒนาการของกฎหมายปกครอง
การที่เราจะศึกษากฎหมายปกครองให้เข้าใจหรือลึกซึ้งนั้นในลำดับแรกนั้นเราต้องศึกษาถึงความหมายของกฎหมายปกครองว่าหมายถึงอะไร และกฎหมายกฎหมายปกครองมีความเป็นมาอย่างไรเพื่อที่จะเข้าใจถึงหลักกฎหมายปกครองได้ดียิ่งขึ้น
1.1 ความหมายของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง กฎหมายปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์กรของฝ่ายปกครอง วิธีการดำเนินงานของฝ่ายปกครอง และการดำเนินการของฝ่ายปกครอง นี้ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของประชาชน ซึ่งอาจทำให้สิทธิหน้าที่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป บางกรณีก็ก่อให้เกิดความรับผิดชอบของฝ่ายปกครองที่จะต้องเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายจึงอาจสรุปได้ว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายเกี่ยวพันระหว่างองค์กรของฝ่ายปกครองด้วยกันเอง และระหว่างองค์กรของฝ่ายปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง คือ ประชาชน
1.2 ประวัติความเป็นมาของกฎหมายปกครอง
สังคมรัฐสมัยใหม่ (Modern Stat) แต่เดิมรัฐมีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศจาก
การรุกรานจากภายนอกกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ รัฐจึงจัดเก็บภาษี (โดยระบบที่ไม่ยุ่งยาก) เพื่อบำรุงกองกำลังทหารกับการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยป้องกันปราบปรามผู้กระทำความผิด การบริการในด้านต่างๆรัฐจะปล่อยให้เอกชนป้องกันและจัดการเองโดยไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ดังนั้นระบบกฎหมายโดยส่วนใหญ่ จึงปรากฏว่ามีแต่ “กฎหมายแพ่ง” และ ”กฎหมายอาญา” โดยกฎหมายแพ่ง เป็นเรื่องว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและกฎหมายอาญาเป็นเรื่องลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
แต่อย่างไรก็ตามในขณะนั้นกฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังมีอยู่แต่ยังไม่มีความสำคัญนัก แต่ต่อมาสังคมเริ่มพัฒนาซับซ้อนมากขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการแพร่หลายของหลักเสรีนิยม เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงของศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดความยุ่งยากและประสบพบปัญหาต่างๆในการบริหารประเทศหรือบริหารงานในรัฐ รัฐจึงเริ่มใช้อำนาจเข้าควบคุมกิจการต่างๆในสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมจัดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาประเทศ รัฐจึงเข้าเป็น(1) ผู้คุ้มครอง(2)ผู้จัดหา(3)ผู้ดำเนินธุรกิจ(4)ผู้ควบคุมเศรษฐกิจและ(5)เป็นคนกลางในการตัดสินข้อพิพาทในการที่รัฐใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงเข้าไปสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “กฎหมายปกครอง” อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายปกครองเป็นผลผลิตของสังคมรัฐสมัยใหม่ ที่เพิ่งพัฒนาในเรื่องประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการใช้อำนาจรัฐ จึงมีความสัมพันธ์โดยใกล้ชิดกับระบบการปกครองของรัฐและสภาบันในการปกครองของรัฐ
ดังนั้นกฎหมายปกครองของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานแนวความคิด ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ พื้นฐานทางระบบรัฐธรรมนูญ ระดับการพัฒนาของสังคมและปัญหาเฉพาะตัวของแต่ละสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะนำหลักกฎหมายปกครองในประเทศหนึ่งมาใช้กันอีกประเทศหนึ่งจึงต้องอาศัยการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมบริบทของประเทศนั้นด้วยดังนั้นการศึกษากฎหมายปกครองจึงเป็นการศึกษาในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.หลักการสำคัญต่างๆในความสัมพันธ์กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตัวกำกับหลักให้
เห็นถึงอำนาจหน้าที่ที่องค์กรต่างๆของรัฐจะมีความสัมพันธ์กัน เพราะการควบคุมดูแลและตรวจสอบระหว่างองค์กรต่างๆของรัฐ จะต้องเป็นไปตามหลักในรัฐธรรมนูญด้วย
2.การจัดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งจะมีการแบ่งแยกมากมาย ตั้งแต่การจัดส่วน
ราชการ ตลอดจนองค์กรในรูปแบบเฉพาะ เช่น องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน เป็นต้น
3.ระบบทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการดำเนินงานของรัฐ
4.ระบบเจ้าหน้าที่ โดยที่การจัดองค์กรจะมีความหลากหลายทำให้เกิดเจ้าหน้าที่หลาย
ประเภทตามลักษณะของงาน
5.ระบบการควบคุมฝ่ายปกครอง ซึ่งมีการควบคุมหลายประเภทแตกต่างกันในแต่ละแง่ เช่นการควบคุมโดยผู้บังคับบัญชา การควบคุมโดยรัฐสภา การควบคุมโดยศาล การควบคุมโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือการควบคุมโดยประชาชน
6.การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งเป็นข้อมูลข่างสารกลางของประเทศที่มีหน้าที่หลายด้าน ทั้งในการนำมาใช้ในการบริหารประเทศ ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการพัฒนาวิทยาการและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
7.การกระทำทางปกครอง อันเป็นการใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายที่ให้ไว้ในการกำหนดสิทธิหน้าที่ของเอกชน ซึ่งได้แก่ กฎทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจที่สำคัญในการปกครองและใช้กันโดยทั่วไปโดยทุกองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิเศษเฉพาะในการจัดทำและนำมาใช้
8.ความรับผิดของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องเยียวยาความเสียหายในระดับที่เหมาะสมแก่เอกชน
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครอง
ลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครองเราอาจสามารถสรุปลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครองเพื่อที่เราจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นคือ
2.1 กฎหมายปกครองเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนส่วนที่วางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองรัฐมีอยู่สองสาขา คือ กฎหมาย
รัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง แม้ว่ากฎหมายทั้งสองสาขานี้ไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีส่วนเกี่ยวพันอยู่มากแต่อาจแยกพิจารณาตามวัตถุประสงค์ได้อย่างกว้างๆ ดังนี้
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ จะกำหนดถึงเรื่องทฤษฎีว่าด้วยรัฐการกำเนิดของรัฐ ทฤษฎีการเมืองและสัญญาประชาคม เนื้อหาสำคัญของรัฐธรรมนูญจะมีส่วนว่าด้วยรูปแบบของรัฐ และการกำหนดองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ใช้อำนาจอธิปไตย ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น รวมทั้งการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทีเรียกว่า “หลักนิติรัฐ”
2. กฎหมายปกครอง จะกำหนดถึงเรื่องการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองหรือที่รู้จักกันในนามของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเรียกว่าเป็นการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายบริหาร
อนึ่ง กฎหมายมหาชนที่วางระเบียบการปกครองรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครองนั้นมีความสำคัญ ซึ่งสามารถสรุปได้ 2 ประการดังนี้
ประการที่ 1 เพื่อให้การดำเนินการบริหารประเทศไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายวางระเบียบการปกครองกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันเหล่านั้นต่อกัน
ประการที่ 2 เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ (การกระทำทางปกครอง) ย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้รับบริการ จึงต้องมีกฎหมายมากำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่าสามารถก้าวล่วงเข้าไปกระทบสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด
2.2 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์ของรัฐในทางบริหาร
การศึกษากฎหมายปกครองจึงเป็นการศึกษาในเรื่อง การปกครองของรัฐการจัดระเบียบการปกครองรัฐ ผลักการใช้อำนาจอธิปไตย ขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆของประชาชน องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
2.2.1 ฝ่ายการเมือง
ฝ่ายการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ซึ่งใช้อำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดนโยบายที่เรียกว่า การกระทำทาง “รัฐบาล” และการกำกับดูแลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดย “ฝ่ายประจำ” ในการบริการสาธารณะทางปกครอง
2.2.2 ฝ่ายประจำ
ฝ่ายประจำ คือ องค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง ซึ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ บังคับใช้กฎหมายและนำนโยบายของ “ฝ่ายการเมือง” ไปสู่การปฏิบัติองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ
2.3 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบริการสาธารณะ
ด้วยเหตุที่รัฐต้องรับภาระจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน ดังนั้นรัฐต้องมีกิจกรรมมากมายหลายสาขา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในบรรดาจัดทำกิจกรรมเหล่านี้ รัฐจำต้องออกกฎหมายวางระเบียบเป็นพิเศษที่แตกต่างไปจากระเบียบที่ใช้กันระหว่างเอกชน เพื่อให้การบริการสาธารณะดำเนินไปโดยไม่ติดขัดและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชนส่วนรวม
2.4กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้อำนาจทางปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นที่มาของการวางระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมมิให้ฝ่ายปกครองกระทำการใดๆในทางที่มิชอบด้วยจุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะ รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกิดจากการความเกี่ยวพันในการจัดทำบริการสาธารณะ
3. เนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบใน
ทางปกครองของรัฐ และดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน ซึ่งสามารถแยกสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง คือ
3.1 การกำหนดโครงสร้างขององค์กรฝ่ายปกครอง
การกำหนดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวการกำหนดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครองของไทยเป็นหลัก องค์กรฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสารธารณะประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ คือ (1) ส่วนราชการ (2) รัฐวิสาหกิจ (3)องค์การมหาชน (4) หน่วยงานอื่นของรัฐ (5) หน่วยงานงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
3.1.1 ส่วนราชการ
ในประเทศไทยเวลานี้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 เป็นแม่บทที่วางโครงสร้างในการจัดระเบียบการปกครองภายในหรือการจัดระเบียบราชการบริหารไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการสวนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น
1. ราชการส่วนกลาง มีองค์กรซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมือง
ต่างๆ ในส่วนกลาง ในปัจจุบันกระทรวงในพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 กำหนดให้กระทรวงมี 20 กระทรวง และหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นต้น
2.ราชการส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด จังหวัดแบ่งออกเป็น
อำเภอ อำเภอแบ่งออกเป็น กิ่งอำเภอ ถ้ามีความจำเป็นในทางปกครอง แต่โดยปกติราชการส่วนภูมิภาคแบ่งจากอำเภอเป็นตำบล ตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน อันเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนภูมิภาคที่เล็กที่สุด ราชการส่วนภูมิภาคเป็นสาขาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งส่งเจ้าหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
3.ราชการส่วนท้องถิ่นปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 รูปแบบประกอบด้วย
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษได้แก่ กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา
3.1.2รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือ กิจการของรัฐ หรือ บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หน่วยธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 อนึ่งกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของมักเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในลักษณะการกระจายอำนาจทางกิจการรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาลหมายถึง หน่วยในทางกฎหมายซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือพระบรมราชโองการและกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินกิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของีรัฐโดยเฉพาะทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชาติ ซึ่งองค์การของรัฐบาลมีลักษณะทางกฎหมายของ เช่น องค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ ตามพระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการหรือพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของผู้เดียว
รัฐวิสาหกิจประเภทที่เป็น องค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นแยกได้ 2 ประเภท คือ
1)รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติโดยตรง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ องค์การของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะอาจได้รับอำนาจและสิทธิพิเศษเหนือกว่าองค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาหลายประการ เช่น พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เป็นต้น
ส่วนหน่วยธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของยังไม่มีคำนิยามไว้ในกฎหมายฉบับใด หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เช่น โรงงานยาสูบเป็นต้น
2)รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความใน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ซึ่งมิได้ให้คำนิยามขององค์การของรับบาล เอาไว้ แต่ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดตั้งไว้ดังนี้
(1)จะต้องมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.ดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือ
ข.เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ หรือ
ค.เพื่อช่วยเหลือในการครองชีพ
ง.เพื่ออำนวยบริการแก่ประชาชน
(2)ต้องใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(3)ต้องมีการจัดตั้งโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
องค์การเหล่านี้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจและนิติบุคคลโดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ เป็นต้น
1.รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของลักษณะสำคัญของรัฐวิสาหกิจประเภทนี้ สามารถสรุปได้ 3 ประการดังนี้คือ
ประการแรก หน่วยงานที่จัดทำธุรกิจนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของราชการ แต่มิได้ดำเนินงานราชการตามวัตถุประสงค์อันระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน แต่เป็นงานซึ่งส่วนราชการแห่งใดแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการงานธุรกิจและใช้เงินงบประมาณทุนดำเนินงาน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ
ประการที่สอง หน่วยงานนั้นมิได้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและมิได้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ก็ได้ดำเนินงานในทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นสังกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลของตนเองและถือว่าการดำเนินการของหน่วยงานนั้นอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเท่านั้น
ประการที่สาม หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี เช่น โรงพิมพ์ตำรวจ สถานธนานุเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง โรงานน้ำตาล กรมอุตสาหกรรม เป็นต้น
3.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด รัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งเป็นบริษัทนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนของภาครัฐทั้งหมดหรือบางส่วน โดยรัฐบาล นิติบุคคลมหาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น และมีความสามารถในการใช้มาตรการควบคุมภายในรัฐวิสาหกิจลักษณะทางกฎหมายของบริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นมีดังนี้
1)รัฐเป็นเจ้าของทุนของบริษัทโดยตรง
2)มีวัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และหนี้เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัท ทสท จำกัด เป็นต้น
3.1.3 องค์การมหาชน
องค์การมหาชน คือ หน่วยงานที่ไม่ใช่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะนิติบุคคลมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งในลักษณะการกระจายอำนาจทางกิจการที่มิได้มุ่งหมายเพื่อการแสวงกำไร เป็นการบริการสาธารณะที่จัดตั้งองค์การมหาชนได้แก่ การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การศึกษาอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐ การทะบำรุงศิลปะวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การบริการทางแพทย์และสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การอำนวยบริการแก่ประชาชน หรือการดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์อื่นใด
ลักษณะองค์การมหาชนดังกล่าวในปัจจุบันมีการตั้งขึ้นมา อาทิเช่น
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
4.มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
5.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
6.กองทุนสนับสนุนวิจัย
7.สถาบันการบินพลเรือน
8.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น
3.1.4 หน่วยงานอื่นของรัฐ
หน่วยงานอื่นของรัฐ มี 2 ประเภท คือ
1.หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง เป็นต้น
2.หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
3.1.5 หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
1.หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง ได้แก่องค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมวิชาชีพในการประกอบอาชีพโดยได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องเพื่ออกกฎ ข้อบังคับทางวิชาชีพ รับจดทะเบียนและพิจารณาออกหรือใบอนุญาตวิชาชีพ เช่นสภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
2.หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ได้แก่ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งการมอบหมายให้หน่วยงานเอกชนจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะ เช่น กระทำในรูปของสัญญา มีคำสั่งอนุญาต คำขอตามที่กฎหมายกำหนดเป็นต้น
3.2 การกำหนดนิติสัมพันธ์ทางปกครองในการบริการสาธารณะ
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดนิติสัมพันธ์ทางปกครองในการบริการสาธารณะ กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการวางระเบียบเกี่ยวกับการแทรกแซงในทางปกครอง ซึ่งรัฐเข้าแทรกแซงด้วยวิธีจัดทำและควบคุมบริการสาธารณะต่างๆ ที่ดำเนินการโดยองค์กรฝ่ายปกครองหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนรัฐหรือฝ่ายปกครอง
3.2.1 ความหมายของการบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะ (Public Service) หมายความถึงกิจการที่ทำอยู่ในความอำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง ที่จัดทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น
3.2.2 ประเภทของบริการสาธารณะ
ปัจจุบันการบริการสาธารณะอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการบริการสาธารณะทางปกครองและการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
1.การบริการสาธารณะทางปกครอง คือ กิจกรรมที่โดยสภาพแล้วเป็นงานใน
หน้าที่ของฝ่ายปกครองที่จะต้องจัดทำเพื่อสนองความต้องการของประชาชน กิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการดูแลความปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชน เช่น การป้องกันประเทศ,การคลัง บริการสาธารณะประเภทนี้ ฝ่ายปกครองต้องอาศัยอำนาจพิเศษตามกฎหมายมหาชนในการจัดทำ เช่น การบังคับฝ่ายเดียวการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่ง และทรัพย์สินที่ฝ่ายปกครองและใช้อยู่ว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐที่ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายมหาชน
การบริการสาธารณะทางปกครองส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทำให้ประชาชนโดยไม่เสียค่าตอบแทนและนอกจากนี้ เนื่องจากเนื้อหาของบริการสาธารณะทางปกครองจะเป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคในการจัดทำ รวมทั้งอำนาจพิเศษของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะด้วย ดังนั้นการบริการสาธารณะประเภทนี้ฝ่ายปกครองจึงไม่สามารถมอบให้องค์กรอื่นหรือเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนได้
แต่เดิมนั้นการบริการสาธารณะทุกประเภทจัดว่าเป็นบริการสาธารณะทางปกครองทั้งสิ้น แต่ต่อมาเมื่อกิจกรรมเหล่านี้มีมากขึ้นและมีรูปแบบและวิธีในการจัดทำแตกต่างกันออกไป จึงเกิดประเภทใหม่ ของการบริการสาธารณะขึ้นมาอีก คือ การบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
2.การบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม คือการบริการ
สาธารณะที่คล้ายคลึงกับรัฐวิสาหกิจเอกชนทั้งในด้านวัตถุ แหล่งที่มาของเงินทุน และวิธีปฏิบัติ
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างการบริการสาธารณะทางปกครองกับการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมสามารถ สรุปได้ 4 ประการคือ
1) วัตถุแห่งบริการ การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีวัตถุแห่งบริการคือ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้น มีวัตถุแห่งการบริการด้าน เศรษฐกิจ เหมือนกับ วิสาหกิจเอกชน คือ เน้นทางด้านการผลิต การจำหน่วย การให้บริการ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังเช่น กิจการของเอกชน
2) แหล่งที่มาของเงินทุน การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีแหล่งที่มาของเงินทุนจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียวโดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเงินทุนทั้งหมดที่นำมาใช้จ่ายในการดำเนินการ ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้น แหล่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจาก ค่าตอบแทนการบริการของผู้ใช้บริการ
3) วิธีปฏิบัติงาน การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีวิธีปฏิบัติงานที่รัฐสร้างขึ้นมาเป็นแบบเดียวกันมีระบบบังคับบัญชาซึ่งใช้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จะมีวิธีปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นมาเองแตกต่างไปจากการบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางปกครอง ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการจัดทำกิจกรรมในด้านต่างๆ
4) สถานภาพของใช้การบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะทางปกครองนั้นสถานภาพของผู้ใช้บริการจะถูกกำหนดโดยกฎข้อบังคับทั้งหมด ซึ่งรวมตั้งแต่การกำหนดองค์กร การจัดองค์กรและการปฏิบัติงาน การใช้บริการสาธารณะประเภทนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไข คือเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นสัญญาตามกฎหมายเอกชนคือ นิติกรรมและสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.2.3 หลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นประเภทใด หรือที่จัดทำโดยผู้ใดย่อมจะต้องตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ หลักว่าด้วยความเสมอภาค หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง และหลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1. หลักว่าด้วยความเสมอภาค การที่รัฐเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะนั้นมิได้
มีจุดมุ่งหมาย ที่จะจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นการจัดทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน ดังนั้น ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติหรือได้รับผลประโยชน์จากการบริการสาธารณะอย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของผู้ใช้บริการ การเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ
2. หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง เนื่องจากการบริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่มี
ความจำเป็นสำหรับประชาชน ดังนั้น หากการบริหารสาธารณะหยุดชะงักไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ประชาชนผู้ใช้บริการย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ การบริการสาธารณะจึงต้องมีความต่อเนื่องในการจัดทำ หลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะมีข้อพิจารณา ดังนี้คือ
มาตรฐานของหลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะหลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะนี้ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร สำหรับการบริการสาธารณะบางประเภท ซึ่งต้องจัดทำอย่างถาวร เช่น การรักษาพยาบาล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น แต่บางประเภทไม่จำเป็นต้องจัดทำถาวรแต่จะต้องจัดทำสม่ำเสมอ ก็อาจจัดทำโดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบางประการ เช่น การศึกษาสามารถกำหนดเวลาในการให้การศึกษา หลักว่าด้วยมาตรฐานความต่อเนื่องมีผลที่น่าศึกษาคือ
1)ผลที่มีต่อสัญญาทางปกครอง สำหรับบุคคลผู้เป็นคู่สัญญากับ
ฝ่ายปกครองนั้นหลักความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะจะนำมาใช้ใน 3 กรณี คือ
(1) การเปลี่ยนแปลงสัญญาซึ่งให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะแก้ไขข้อสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของประชาชน
(2) การลงโทษในกรณีที่เกิดความผิดร้ายแรงที่ขัดขวางการดำเนินการของการบริการสาธารณะ ซึ่งฝ่ายปกครองผู้รับผิดชอบจะต้องแก้ไขด้วยการเข้าไปทำแทนคู่สัญญาฝ่ายเอกชนหรือยึดกลับมาทำเอง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะ
(3) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาและมีผลให้คู่สัญญาฝ่ายเอกชน ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายปกครองให้จัดทำตามบริการสาธารณะ ไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้ตามปกติ ฝ่ายปกครองจะต้องเข้าไปรับภาระบางส่วนร่วมกับเอกชนคู่สัญญา เพื่อไม่ให้การบริการสาธารณะต้องหยุดชะงักลง
2) ผลที่มีต่อการนัดหยุดงาน การนัดหยุดงาน อาจเป็นเหตุให้เกิดการขัดขวางการดำเนินงานตามปกติของบริการสาธารณะที่ทำให้หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะจึงได้มีมาตรการที่เข้ามาแก้ไขปัญหาขึ้น 2 วิธี ด้วยกันคือ การให้บริการขั้นต่ำ และการให้เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เช่น ทหารเข้าดำเนินการแทนการบริการสาธารณะบางประเภทนี้ห้ามหยุดงานอย่างเด็ดขาดและทั้งหมดไม่ได้ เช่น การบริการสาธารณะเกี่ยวกับโรงพยาบาล ตำรวจ การยุติธรรม การคมนาคมทางอากาศ หรือวิทยุโทรทัศน์
3.หลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การบริการสาธารณะที่ดีนั้นจะต้อง
สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมปัจจุบัน ที่จะรักษาผลประโยชน์สาธารณะเพื่อสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวม
3.2.4 องค์กรผู้จัดทำการบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะส่วนใหญ่นั้น รัฐจะเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทำดำเนินการบริการสาธารณะโดยใช้องค์กรภายในฝ่ายปกครองเป็นผู้จัดทำระบบราชการ แต่ต่อมาได้เพิ่มวิธีการจัดทำการบริการสาธารณะขึ้นโดยจัดตั้งเป็นองค์กรประเภทพิเศษขึ้นมาทำหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะเฉพาะประเภท เช่นรัฐวิสาหกิจต่างๆ และต่อมาจึงมีการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีการมอบอำนาจการบริการสาธารณะหลายๆประเภทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดทำแทนรัฐ นอกจากนี้ในระยะหลังๆ การบริการสาธารณะมีมากประเภทขึ้นบางประเภทต้องใช้กำลังคน กำลังทรัพย์ รวมทั้งเทคโนโลยีระดับสูงมาดำเนินการจัดทำ แต่เนื่องจากการบริการสาธารณะประเภทดังกล่าวเป็นการบริการสาธารณะ ซึ่งโดยสภาพแล้วรัฐไม่จำเป็นต้องทำเองก็ได้ จึงเกิดการมอบการบริการสาธารณะบางประเภทให้เอกชนดำเนินการแทนรัฐ โดยรัฐเข้าไปควบคุมดูแลการจัดทำบริการสาธารณะโดยเอกชนเพื่อให้บริการที่เกิดขึ้นอยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับที่รัฐเป็นผู้จัดทำ ซึ่งเราอาจแยกองค์กรการจัดทำการบริการสาธารณะได้ดังนี้ คือ
1.การบริการสาธารณะที่จัดทำโดยรัฐ รัฐจัดทำบริการสาธารณะ มี2 ระดับ คือ
การบริการสาธารณะระดับชาติ และการบริการสาธารณะระดับท้องถิ่น
1) การบริการสาธารณะระดับชาติ เป็นบริการสาธารณะที่รัฐจัดทำอย่างทั่วถึงตลอดทั้งประเทศ สามารถแบ่งได้ 7 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
(1) การบริการสาธารณะด้านยุติธรรม
(2) การบริการสาธารณะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของประเทศ
(3) การบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยของ
สังคม
(4) การบริการสาธารณะด้านสังคม
(5) การบริการสาธารณะด้านวัฒนธรรม
(6) การบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยว
(7) การบริการสาธารณะด้านการศึกษา
2) การบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่น ได้แก่การบริการสาธารณะที่อยู่
ในอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการจัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน้าที่ที่ต้องจัดทำการบริการสาธารณะกับหน้าที่ที่อาจจัดทำการบริการสาธารณะ
2.การบริการสาธารณะที่จัดทำโดยเอกชน เอกชนสามารถเข้ามามีส่วนในการ
จัดทำบริการสาธารณะ ได้ 2 กรณี คือ การมีส่วนร่วมทางตรงกับการมีส่วนร่วมทางอ้อม
1) การมีส่วนร่วมทางตรง การบริการสาธารณะเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จัดทำ แต่ต่อมาเมื่อรัฐมีภารกิจมากขึ้น กิจการบางอย่างรัฐไม่จำเป็นต้องจัดทำเองเพราะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของรัฐ กิจการบางอย่างต้องใช้เงินลงทุนมาก ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้รัฐไม่สามารถจัดทำการบริการสาธารณะได้อย่างดี และรวดเร็ว ทันความต้องการของผู้ใช้บริการสาธารณะ จึงเกิดการมอบการบริการสาธารณะให้เอกชน ซึ่งมีความสนใจและมีความพร้อมเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะแทนรัฐ
ข้อสังเกต การมอบอำนาจให้เอกชนเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะ หมายถึง การกระทำทางปกครองที่รัฐมอบให้เอกชนเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยรัฐเป็นผู้ตัดสินใจ อนุมัติหรืออนุญาตให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะเอกชนจึงสามารถเข้าดำเนินการได้ ได้แก่
(1)การให้เอกชนเข้าสัมปทาน ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง
(2)องค์กรวิชาชีพ เช่น องค์กรวิชาชีพทนายความ องค์กรวิชา
ชีพบัญชี องค์กรวิชาชีพแพทย์ องค์กรวิชาชีพสถาปนิก และองค์กรวิชาชีพเภสัชกร เป็นต้น
2) การมีส่วนร่วมทางอ้อม ได้แก่การเข้ามามีส่วนร่วมของเอกชนเข้า
มามีส่วนร่วมในการจัดทำการบริการสาธารณะโดยรัฐด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้ง ประชาชนมีสิทธิที่เลือกตั้ง หรือรับสมัคร
เลือกตั้งเข้าไปบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำการบริการสาธารณะภายใต้ระบบการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) การร่วมให้ความเห็น ฝ่ายปกครองอาจเชิญเอกชนมา
ปรึกษาหารือ เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกันการจัดทำการบริการสาธารณะในบางเรื่องก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการได้
3.2.4 เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำการบริการสาธารณะ
ในการจัดทำหรือการกำกับดูแลในการบริการสาธารณะนั้นฝ่ายปกครองมี “เครื่องมือ”
ที่ใช้ ในการจัดทำการบริการสาธารณะอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนั้น เป็นทั้ง “แหล่งที่มา” (Source)
และ “ข้อจำกัด” (Limitation) ของอำนาจในการกระทางปกครองของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ มาตรการทางกฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นมีอยู่ 4 ประการคือ
1)นิติกรรมทางแพ่ง ได้แก่ การทำสัญญาทางแพ่งเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง
พัสดุจากเอกชนไว้ในราชการโดยมิได้ใช้อำนาจพิเศษของรัฐ คืออำนาจฝ่ายเดียว
2)นิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวที่มีผลทั่วไป ได้แก่ การวางกฎเกณฑ์
ของฝ่ายปกครองที่มีผลต่อบุคคลอื่นเป็นการทั่วไป นิติกรรมทางปกครองนี้มีสภาพเป็นกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่า “กฎ”
3)นิติกรรมทางปกครองที่มีผลเฉพาะรายหรือเรียกว่า “คำสั่งทาง
ปกครอง” เฉพาะบุคคลหรือเฉพาะเรื่อง เช่น คำสั่งห้าม คำสั่งให้ทำการอนุมัติ การอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น นิติกรรมทางปกครองประเภทนี้เป็นนิติกรรทางปกครองที่ผู้ตราจะต้องเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายกำหนด กล่าวคือจะต้องทำโดยเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
4) สัญญาทางปกครอง ฝ่ายปกครองสามารถทำสัญญาทางปกครอง เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดทำการบริการสาธารณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
2. บุคลากรของรัฐ หมายถึง บุคลากรทุกประเภทที่ทำงานให้กับฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหลายประเภทโดยส่วนใหญ่ของบุคลากรจะได้แก่ ข้าราชการ นอกจากนั้นก็จะเป็นบุคลากรที่เรียกกันว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ดังนี้คือ
1) ข้าราชการ จะได้แก่ บุคคลซึ่งสมัครใจเข้าทำงานกับฝ่ายปกครองอย่างถาวร และมีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำจำกัดความแล้วจะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นข้าราชการจะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
(1) การเข้าเป็นข้าราชการ
(2) การทำงานกับองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ เช่น กระทรวง
ทบวง กรม เป็นต้น
(3) ความถาวรมั่งคงและในการทำงาน
2)เจ้าหน้าของรัฐที่ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ 3
ประการคือ
(1) ลูกจ้าง ได้แก่ บุคคลซึ่งทำงานอยู่กับองค์กรของฝ่าย
ปกครองต่างๆในตำแหน่งลูกจ้างที่ไม่ถาวร เช่น ลูกจ้างเข้าทำงานโดยวิธีการจ้าง มีการทำสัญญาจ้างเฉพาะตัวบุคคล เช่น ลูกจ้างรายวัน รายเดือน รายปี เป็นต้น
(2) ผู้เข้าร่วมงานอาสาสมัคร ได้แก่บุคคลซึ่งเสนอตัวต่อฝ่าย
ปกครองโดยสมัครใจที่จะร่วมมือหรือให้ความช่วยเหลือในการทำงานของฝ่ายปกครองทีเกี่ยวข้องกับการจัดทำการบริการสาธารณะ หรือประโยชน์สาธารณะ เช่น อาสาสมัครดับเพลิง เป็นต้น
(3) ผู้เข้าร่วมงานที่ถูกเกณฑ์ ได้แก่ บุคคลซึ่งเข้ามาร่วมงานกับ
ฝ่ายปกครองโดยไม่สมัครใจ กล่าวคือ มีการสั่งการหรือเรียกเข้ามาร่วมงาน เช่น ในยามสงครามบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดจะถูกเกณฑ์มาเป็นทหาร หรือในกรณีอื่นฝ่ายปกครองอาจเรียกบุคคลอื่นมาร่วมในการดำเนินการของฝ่ายปกครอง เช่น มาร่วมเป็นลูกขุนหรือมาเป็นพยานในศาล เป็นต้น
3.ทรัพย์สิน ในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ บ่อยครั้งที่ฝ่ายปกครองมี
ความจำเป็น จะต้องได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกติทั่วๆไปแล้ว ฝ่ายปกครองสามารถได้มาซึ่งทรัพย์สินทั้งหลาย ได้ 2 วิธี คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บทบัญญัติในกฎหมายเอกชน กับได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีพิเศษ
1)การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเอกชนการได้มาตาม
กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ในการทำสัญญาไว้ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ฝ่ายปกครองยังได้ทรัพย์สิน โดยการรับบริจาค หรือการรับมรดก เป็นต้น
2)การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีพิเศษ นั้นฝ่ายปกครองอาจจะได้มาใน
ลักษณะที่เป็นสัญญาทางปกครอง แต่ในบางกรณี เมื่อฝ่ายปกครองมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพย์สิน เพื่อจัดทำการบริการสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ฝ่ายปกครองก็จะใช้อำนาจฝ่ายเดียว คืออำนาจตามกฎหมายมหาชน ได้ 3 กรณี ดังนี้ คือ
(1)การเวนคืน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(2)การโอนกิจการมาเป็นของรัฐ
(3)การยึดมาเป็นของรัฐซึ่งการยึดจะใช้ในกรณีสงคราม เพื่อเปิด
โอกาสให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารสามารถได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือกิจการที่มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการของรัฐ เช่น การปฏิบัติการทางทหาร เป็นต้น
3.3 การควบคุมการทางปกครองในการจัดทำการบริการสาธารณะ
การควบคุมากรกระทำทางปกครองในการจัดทำการบริการาสาธารณะนั้นเป็นการควบคุม การตรวจสอบหรือเรียกว่า การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง ซึ่งแบ่งกว้างๆ เป็น 2 ส่วน คือ การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง กับการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก
3.3.1 การควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง
การควบคุมโดยชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองในการจัดบริการ
สาธารณะของฝ่ายปกครองโดยองค์กรในฝ่ายปกครอง ได้แก่ การควบคุมโดยการบังคับบัญชาการควบคุมการกำกับดูแล และการอุทธรณ์ภายในฝ่ายการปกครอง
1.การควบคุมโดยการบังคับบัญชา เป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจ
ทั่วไปอยู่เหนือผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมของการกระทำต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชา และหากเห็นว่าการกระทำใดของผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เหมาะสม แล้วแต่กรณีผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะดำเนินใดก็ได้ ตามความเหมาะสมภายในขอบเขตกฎหมายอำนาจของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชานั้นประกอบด้วย
1)อำนาจเหนือบุคคลผู้ใต้บังคับบัญชา
(1)อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายกำหนดให้ดำรงตำแหน่ง
(2)อำนาจในความดีความชอบ
(3)อำนาจในการลงโทษทางวินัย
2)อำนาจเหนือการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชา
(1)อำนาจสั่งการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(2)อำนาจสั่งการแก้ไขการกระทำที่ไม่ชอบ
(3)อำนาจกระทำการแทนในการกรณีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติ
หน้าที่
2. การควบคุมโดยการกำกับดูแล เป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจองค์กรปกครอง
ส่วนกลางหรือองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคตรวจสอบการกระทำขององค์กรต่างๆดังต่อไปนี้
1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศ
บาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร
2)บรรดารัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราช
กฤษฎีกา เช่น การไฟฟ้านครหลวง การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย องค์การรถไฟฟ้ามหานคร องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้น
3)องค์การมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ หรือจัดตั้งขึ้น
ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 เช่น ธนาคารแห่งประเทศ สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น
4) หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ได้แก่องค์กรวิชาชีพ เช่น สภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
ข้อสังเกต การควบคุมโดยการบังคับบัญชาการควบคุมโดยกำกับดูแลมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ อยู่ 2 ประการคือ
ประการแรก อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่จะควบคุมการกระทำของผู้บังคับบัญชา
นั้นเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการจัดระเบียบภายในหน่วยงาน ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ไว้โดยเฉพาะ แต่อำนาจผู้กำกับดูแลที่จะควบคุมการกระทำของผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตนนั้น เป็นอำนาจที่มีกฎหมายบัญญัติให้ไว้โดยเฉพาะและผู้กำกับดูแลจะใช้อำนาจควบคุมเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ไม่ได้
ประการที่สอง ผู้บังคับบัญชามีอำนาจควบคุมตรวจสอบการกระทำของผู้ใต้บังคับ
บัญชาของตนได้ทั้งในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายและในแง่ของความเหมาะสม แต่ผู้กำกับดูแลมีอำนาจควบคุมตรวจสอบการกระทำของผู้อยู่ใต้การกำกับดูแลของตนได้ก็เฉพาะแต่ในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จะก้าวล่วงเข้าไปควบคุมตรวจสอบความเหมาะสมของการกระทำไม่ได้
3.การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง การกระทำทางปกครองในการจัดทำการ
บริการสาธารณะที่เป็นคำสั่งทางปกครองนั้นคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งการกระทำทางปกครองดังกล่าวได้ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายที่กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองอาจเป็นกฎหมายฉบับที่ให้อำนาจออกคำสั่งทางปกครองนั้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ากฎหมายฉบับใดไม่ได้กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองไว้ ก็ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นกฎหมายกลาง
3.2.2 การควบคุมโดยองค์กรภายนอกฝ่ายปกครอง
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกคอรงในการจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์กรภายนอกฝ่ายปกครองได้แก่การควบคุมและตรวจสอบโดยทางการเมืองการควบคุมและตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ และการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ
1. การควบคุมตรวจสอบโดยทางการเมือง ก็คือ การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรรัฐสภา ในการตั้งกระทู้ถาม และการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี)
2. การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เป็นการมอบหมายให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบภายในขอบเขตอำนาจขององค์กรนั้นๆ เช่น ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ก็จะมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบเรื่องการเงิน การคลังของหน่วยงานของรัฐต่างๆ เป็นต้น
3. การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ เป็นการควบคุมและ
ตรวจสอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ให้หลักประกันประชาชนให้มากที่สุดด้วยเหตุนี้ จึงมีการกล่าวกันว่ารัฐใดรัฐหนึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็น “นิติรัฐ” หากรัฐนั้นปราศจากการควบคุมและตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ ทั้งนี้องค์กรตุลาการมีความเป็นอิสระที่มีการประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา องค์กรตุลาการจะเป็นการควบคุมการกระทำทางปกครองในการบริการสาธารณะของรัฐนั้นจะมีองค์ตุลาการควบคุมและตรวจสอบการกระทำดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้ความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายในการกระทำทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะคือ
1)ศาลยุติธรรมที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำการบริการสาธารณะใน
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางปกครองบางประเภทที่ได้กำหนดไว้ให้อยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม เช่น คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากรเป็นต้น
2)ศาลปกครองที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำการบริการสาธารณะใน
กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
(1) คดีปกครองที่อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
(ก) ในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออก กฎ คำสั่ง หรือกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนือหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(ข) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินควร
(ค) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(ง) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(จ) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(ช) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
(2) คดีปกครองที่อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด คือ
(ก)คดีพิพาทที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
(ข)คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือ กฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(ค) คดีมี่กฎหมากำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
(ง) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
(จ) คดีพิพาทหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของศาลปกครองชั้นต้น ขัดหรืแย้งกันในประเด็นแห้งคดีอย่างเดียวกัน ซึ่งคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีคำสั่งกำหนดว่าจะให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งใด
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
ประยูร กาญจนดุล “คำบรรยายกฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่4,2538
ชาญชัย แสวงศักดิ์ “กฎหมายปกครอง แนวความคิดและหลักกฎหมายที่ควรรู้” กรุงเทพฯ :
สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง พิมพ์ครั้งที่ 2,2546
รัฐบาล หน้าที่ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
สิทธิตามกฎหมาย
ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนย่อมเกี่ยวกับสิทธินานาประการที่เป็นคดีกันขึ้นก็เพราะมี การล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ นั่นเอง แม้แต่ในสมัยโบราณ บรรดานักปรัชญาทั้งหลายก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธินี้เป็นอันมาก แนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อแนวคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน จากการมองสภาพของมนุษย์ว่าเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วควรมีคุณค่าที่ติดตัวมาแต่เกิด ไม่ขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและจะล่วงละเมิดมิได้ คุณค่าตามเงื่อนไขนี้เรียกว่า “สิทธิธรรมชาติ” (Natural Rights) สิทธิดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความต้องการของมนุษย์ชาติ เพื่อที่จะให้ทุกคนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเยี่ยงอารยชน แต่สิทธิที่จะได้กล่าวถึงต่อไปในบทนี้เป็นเรื่องสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้เท่านั้น
1. ความหมายของสิทธิ
สิทธิ หมายถึง อำนาจตามกฎหมายที่บุคคลได้รับจากกฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง โดยสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืองดกระทำการ หรือใช้ยันให้บุคคลอื่นต้องยอมรับ สภาพสิทธินี้อาจเป็นไปตามกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนก็ได้ ดังเช่น รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพ บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะล่วงละเมิดในสิทธิของอีกบุคคลหนึ่งไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้เพื่อรับรองคุ้มครองป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิในทางอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรองประโยชน์และอำนาจในสภาพบุคคล ในทรัพย์สิน ในครอบครัว หากผู้ใดล่วงละเมิดก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน อันเป็นการคุ้มครองสิทธิในทางแพ่ง เป็นต้น
2. ประเภทของสิทธิ
สิทธิของบุคคลตามกฎหมายมิได้มีเพียงเท่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประมวลกฎหมายอาญา หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่มีบัญญัติไว้ในบทกฎหมายอื่นๆ เป็นอันมาก สิทธิต่างๆ ทั้งหลายอาจแยกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
1. สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล
2. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
2.1 สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ได้แก่สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ สิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ประกอบด้วยสิทธิในตัวบุคคล สิทธิในครอบครัว สิทธิในทางการเมือง
2.1.1 สิทธิในตัวบุคคล
สิทธิในตัวบุคคล หมายถึง สิทธิซึ่งบุคคลย่อมจะต้องมีในฐานะเป็นเจ้าของตัวของตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพร่างกาย อนามัย ชื่อเสียงความคิดเห็น และสติปัญญาดังเช่น สิทธิต่างๆต่อไปนี้
1. สิทธิในชีวิตร่างกายและอนามัย ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรี
ภาพบริบูรณ์ในร่างกายของตนในวันที่จะกระทำการใดๆ ไปมาในที่ใด หรือ เลือกถิ่นทีอยู่ ณ ที่แห่งใด ได้ตามความพอใจผู้ละเมิดสิทธิ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย ชีวิตอนามัย ของผู้อื่น หรือข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการใดๆ หรือให้งดเว้นกระทำการใดๆ หรือจับกุม กักขัง เป็นต้น
2. สิทธิในชื่อเสียง นอกจากร่างกายอนามัย กฎหมายยังให้
ความคุ้มครองตลอดจนชื่อเสียงของบุคคล ในอันที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้โดยมิให้บุคคลอื่นโต้แย้ง หรือทำให้เสื่อมเสียประโยชน์เพราะ การใช้นามเดียวกันกฎหมายจึงให้ความคุ้มครองแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นต้น
3. สิทธิในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการอยู่อาศัยและครอบ
ครองเคหสถานโดยปกติสุขภาระที่บุคคลอื่นจะเข้าไปในเคหสถานหรือตรวจค้น เคหสถานของผู้ใดโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองและโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ผู้นั้นอาจมีความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น
4. สิทธิในความคิดเห็น กฎหมายรับรองให้บุคคลมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความ
คิดเห็นและการแสดงออก มีเสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา แต่จะต้องมีขอบเขตจำกัดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือเป็นภัยแก่ประเทศชาติ
5. สิทธิในการประชุมและการตั้งสมาคม การร่วมประชุม และการตั้งสมาคมเป็นสิทธิในตัวบุคคล กฎหมายรับรองเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสช่วยกันบำรุงส่งเสริมกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การกีฬา การบันเทิง วรรณคดี ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการเมือง แต่ถ้าเป็นการประชุมหรือสมคบกันในคณะบุคคลที่มีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะเป็นการทำลายความสงบสุขของประชาชน อาจเป็นความผิด ต้องได้รับโทษฐานเป็นอั้งยี่ หรือซองโจรได้
6. สิทธิในการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษา โดยได้รับการรับอรองและคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายทั้งการศึกษาในระดับภาคบังคับและการศึกษาที่สูงกว่าระดับภาคบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเอกชนก็ตาม
7. สิทธิในการประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อความมั่นคงแห่งตนเองหรือครอบครัว บุคคลย่อมมีสิทธิในการประกอบการงานและความรู้ความสามารถ กฎหมายให้ความคุ้มครองต่อการประกอบอาชีพโดยสุจริตของทุกคน นอกจากอาชีพบางประเภท ซึ่งจำเป็นต้องใช้คุณวุฒิพิเศษ เช่นการประกอบโรคศิลป์ ทนายความ เป็นต้น
8. สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา กฎหมายให้เสรีภาพแก่ทุกคนที่จะเลือกนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือ ลัทธินิยมในทางศาสนาใดๆได้รับความสมัครใจ ตลอดทั้งยินยอมให้มีการปฏิบัติสักการะบูชาและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนได้ ในเมื่อไม่เป็นปรปักษ์ต่อบุคคลอื่นและไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.1.2 สิทธิในครอบครัว
สิทธิในครอบครัว หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองในเรื่องที่เกี่ยวด้วยครอบครัว ดังเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติในการรับรองคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในบรรพ 5 สิทธิในครอบครัวประกอบสิทธิที่สำคัญดังต่อไปนี้เช่น
1. สิทธิของบิดามารดากับบุตร บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้นามสกุลของ
บิดา มีสิทธิในการรับรองการศึกษาตามสมควรและได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาในระหว่างเป็นผู้เยาว์หรือแม้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองมิได้
2. สิทธิของสามีกับภรรยา เมื่อหญิงกับชายกระทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในครอบครัวขึ้นบางประการ เช่นสิทธิที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะ สิทธิที่จะจัดการสินสมรสร่วมกันหญิงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามี เป็นต้น
3. สิทธิในการรับมรดก การเป็นสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอีกประการหนึ่ง คือสิทธิได้รับทรัพย์สินอันเป็นมรดก ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งได้แก่การเป็นบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้น
2.1.3 สิทธิในทางการเมือง
สิทธิในทางการเมือง หมายถึง สิทธิที่ให้เฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติของประเทศเมื่อมีอายุ และคุณสมบัติบางประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้มีโอกาสเข้าเกี่ยวข้อง หรือร่วมมือในการปกครองบ้านเมืองของตน เช่น สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น
2.2 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน หมายถึง ประโยชน์หรืออำนาจที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น ทรัพย์สิทธิ และสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ์)
2.2.1 ทรัพย์สิน
ทรัพย์สิทธิ เป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองให้บุคคลมีอำนาจเหนือทรัพย์สินของตนซึ่ง
มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์ จัดว่าเป็นสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินโดยตรงได้แก่
1. กรรมสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เป็นสิทธิอัน
สมบูรณ์ที่สุดที่บุคคลจะพึงมีในทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ได้รวมเอาสิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับทรัพย์สินเข้าไว้ด้วยกัน คือ สิทธิในการใช้สอยทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดข้องเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. สิทธิครอบครอง เป็นทรัพย์สิทธิประเภทเดียวกับกรรมสิทธิ์คือ เป็นทรัพย์สินที่แสดงความเป็นเจ้าของ ดังนั้นถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของก็มักจะมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบอยู่ด้วย แต่บางครั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจจะมอบการครอบครองให้แก่บุคคลอื่นก็ได้ ดังนั้นสิทธิครอบครองจึงอยู่กับบุคคลอื่น เช่น เจ้าของกรรมสิทธิ์เอาทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นเช่า
3. ภาระจำยอม คือทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่งที่ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์โดยทำให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อันหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของตน หรือทำให้เจ้าของภารยทรัพย์ต้องงดเว้น การใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า “สามยทรัพย์” เช่นการที่เจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง มีสิทธิเดินผ่านที่ดินอีกแปลงหนึ่ง
4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ในโรงเรือนของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์อื่นตอบแทน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็โดยนิติกรรม และเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาท
5. สิทธิเหนือพื้นดิน หมายถึง สิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูก
บนดินหรือใต้ดินของผู้อื่น สิทธิเหนือพื้นดินจึงเป็นทรัพย์สินที่ยกเว้นหลักส่วนควบ สามารถโอน และตกทอดไปยังทายาทได้
6. สิทธิเก็บกิน หมายถึง สิทธิที่จะเข้าครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนหรือตกทอดไปยังทายาทได้ และผู้ทรงสิทธิเก็บเกินผู้ดูแลรักษาทรัพย์นั้นด้วย
7. ภารติดพันธ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประโยชน์หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น
8. ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิอันมีแต่ผู้
เดียวที่จะทำขึ้นทำซ้ำซึ่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมหรือส่วนสำคัญแห่งวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรและรวมถึงสิทธิในการนำออกเล่นแสดงต่อประชาชนด้วย ถ้าเป็นปาฐกถา หมายถึงสิทธิการนำออกกล่าวหรือ ถ้าวรรณกรรมหรือศิลปกรรมนั้นยังมิได้โฆษณา ก็หมายถึงสิทธินำออกโฆษณาด้วย
แต่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำซ้ำเปลี่ยนแปลง เล่น แสดงโฆษณา ฯลฯ ซึ่งวรรณกรรมและศิลปกรรมนั้นๆ
สิทธิในเครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายซึ่งใช้หรืออาจจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆ เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า บุคคลผู้ใดจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เพื่อใช้เครื่องหมายสำหรับสินค้านั้นทั้งหมด ผู้ปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนแล้วย่อมมีความผิดทางอาญาและทางแพ่ง
2.2.2 สิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ (บุคคลสิทธิ)
สิทธิเรียกร้องหนี้ หมายถึงการที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าการกระทำหรือการงดเว้นนั้นเป็นความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลด้วยกันในเรื่องหนี้ แม้เป็นเพียงบุคคลสิทธิมิใช่เป็นอำนาจที่ใช้ต่อทรัพย์สินโดยตรงอย่างทรัพย์สิทธิก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นทำประโยชน์ ในทางทรัพย์สินให้แก่ตน จึงนับว่าสิทธิเรียกร้องในเรื่องหนี้ เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วยอย่างหนึ่ง
3. องค์ประกอบสิทธิ
สิทธิย่อมมีต่อบุคคลเดียว บางคนหรือทุกคนที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสิทธิจึงมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. เจ้าของสิทธิหรือผู้ถือสิทธิจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
2. บุคคลซึ่งมีหน้าที่ ได้แก่ บุคคลซึ่งจะต้องรับผิดต่อสภาพบังคับ (Sanction) เว้น
แต่จะกระทำการบางประการ ทั้งนี้เพราะสิทธิและหน้าที่ย่อมเป็นของคู่กัน เมื่อมีเจ้าของสิทธิก็ต้องมีบุคคลผู้มีหน้าที่และจะเรียกว่าเป็นผู้ถือ “หน้าที่” ก็ได้ผู้ที่จะมีหน้าที่ย่อมจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเช่นเดียวกัน
3. เนื้อหาแห่งสิทธิ (Content of Right) ได้แก่ การกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเจ้าของสิทธิจะเรียกร้องเอาจากบุคคลผู้มี “หน้าที่” เนื้อหาแห่งสิทธินี้จะมีมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของสิทธิ
4. วัตถุแห่งสิทธิ (Objcet of Right) หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสิทธิซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์สิทธิ หรือ บุคคลสิทธิก็ได้
4. การได้มาซึ่งสิทธิ การใช้สิทธิ การสงวนและคุ้มครอง การโอนสิทธิ และการระงับแห่งสิทธิ
4.1 การได้มาซึ่งสิทธิ
บุคคลย่อมจะได้สิทธิหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองตั้งแต่เริ่มสภาพ
บุคคล ซึ่งเป็นสิทธิเรื่องแรกที่ทุกคนจะได้พร้อมกับการเกิด
บุคคลอาจได้สิทธิโดยวิธีการต่างๆ คือ จากนิติกรรมและการได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม ซึ่งได้แก่ การได้โดยนิติเหตุและได้มาโดยผลแห่งกฎหมาย
4.1.1 การได้สิทธิจากนิติกรรม
นิติกรรมเป็นการกระทำให้เกิดสิทธิโดยตั้งใจและชอบด้วยกฎหมาย มุ่งโดยตรงต่อการผูก
นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นนิติกรรม จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิต่างๆขึ้น เช่น ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับสิทธิ
นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิ อาจแบ่งออก 2 ประเภท
1. นิติกรรมซึ่งกำให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคล ตัวอย่างเช่น การแสดงเจตนา ทำการสมรส รับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม ยอมทำให้บุคคลมีสิทธิในครอบครัว
2. นิติกรรมซึ่งก่อให้เกิดสิทธิเกี่ยวกับ ทรัพย์ ส่วนใหญ่ ได้แก่ สัญญาอันเป็นนิติกรรมสองฝ่าย โดยบุคคลฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำคำเสนอ และอีกบุคคลฝ่ายหนึ่งทำคำสนองรับตกลงยินยอมร่วมกันอันที่จะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การซื้อขาย การเช่าทรัพย์ เป็นต้น
4.1.2 การได้สิทธิจากทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้รับสิทธิโดยทางอื่นๆ นี้จะเป็นการได้มาโดยผลของกฎหมายทั้งสิน คือเป็นกรณีที่
กฎหมาย บัญญัติว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ให้มีการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิมิใช่เรื่องที่คู่กรณีจะตกลงกันได้ล่วงหน้าเหมือนนิติกรรม เป็นต้นว่า
1. การได้สิทธิจากนิติเหตุ คือเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเอง
หรือโดยบุคคลเป็นผู้กระทำก็ตามแล้วทำ ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายการมีสิทธิจากนิติเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1)นิติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติ ได้แก่การเกิด การตาย และการบรรลุนิติภาวะ
การเกิดทำให้บุคคลได้สิทธิฐานะเป็นบุคคลและการตายของบุคคลหนึ่งทำให้ทายาทของบุคคลนั้นได้สิทธิ เช่นการรับมรดก ส่วนการบรรลุนิติภาวะทำให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิได้ด้วยตนเอง
2)นิติเหตุที่เกิดจากการกระทำของบุคคล เป็นการกระทำที่บุคคลกระทำไป โดยปราศจากเจตนามุ่งผลในทางกฎหมายแต่ผลของการกระทำก่อให้เกิดสิทธิขึ้น ได้แก่ จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และละเมิด
2. การได้มาซึ่งสิทธิในผลแห่งกฎหมาย อาจจะได้สิทธิโดยกฎหมายเอกชนหรือการได้สิทธิโดยกฎหมายมหาชน ดังนี้
1)การได้สิทธิตามกำหมายเอกชน เช่น
(1)การได้กรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ ได้แก่ ส่วนควบโดยธรรมชาติ และส่วนควบโดยการปลูกสร้าง
(2)การได้สิทธิโดยอาศัยหลักการถือเอาสังหาริมทรัพย์ไม่มีเจ้า
ของ
(3)การได้สิทธิโดยหลักเรื่องการได้ทรัพย์สินปราศจาก ผู้ครอบครอง
(4)การได้สิทธิโดยสุจริตในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษ
ได้แก่ การได้สิทธิมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ การได้สิทธิมาเพราะซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตและการได้โดยสิทธิโดยอายุความ เป็นต้น
2) การได้สิทธิตามกฎหมายมหาชน เช่น การได้สิทธิในการเลือกตั้ง การได้สิทธิรับสมัครเลือกในทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นไปถึงระดับชาติ เป็นต้น
4.2 การใช้สิทธิ
ผู้ทรงสิทธิย่อมจะใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองได้โดยอิสระตามความพอใจของตนเองแต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตจำกัดของกฎหมายบางประการคือ
1. ต้องเคารพต่อกฎหมายและหลักแห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอัน
ดีของประชาชน หมายความว่าการใช้สิทธิของตนนั้นต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่น เราจะใช้สิทธิในการซื้อขายอาวุธสงครามหรือยาเสพติด ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย เป็นต้น
2. ต้องใช้สิทธิในทางที่ไม่ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น หมายความว่า การใช้
สิทธิใดๆ นั้นจะต้องเคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่นด้วย ถ้าได้ใช้สิทธิในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นก็เป็นเรื่องละเมิดได้ เช่น โรงงานมีเสียงดังและส่งกลิ่นเหม็นก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ เพื่อนบ้านโดยทั่วไปหรือตอกเสาเข็มก่อสร้างทำให้ตึงข้างเคียงร้าว เป็นต้น
3. ต้องใช้สิทธิโดยสุจริต ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดีใน
การชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เช่น ไม่ปลูกตึกแถวปิดทางเข้าออก หรือบังแสงสว่าง ปิดทางลมของคนอื่น
แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิของบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเงื่อนไขของการใช้สิทธิ ของผู้เยาว์ คนไร้ความสารถ และคนเสมือนไร้ความสารถ ถึงแม้จะเป็นผู้ทรงสิทธิก็ตาม แต่ไม่สามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ เพราะกฎหมายถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้หย่อน ความสามารถ ต้องให้บุคคลตามที่กฎหมายกำหนดทำการแทนบุคคลดังกล่าว
4.3 การสงวนและคุ้มครองสิทธิ
สิทธิต่างๆ เมื่อมีกฎหมายมารับรองไว้ กฎหมายก็จะบัญญัติการสงวนและการคุ้มครอง สามารถแยกพิจารณา เป็นกรณี คือ การสงวนสิทธิ และการคุ้มครองสิทธิ
1. การสงวนสิทธิ หมายถึง การป้องกันขัดขวางมิให้สิทธินั้นต้องระงับไปหรือ
เสื่อมสลายไป ดังเช่น การทำให้อายุความสะดุดลง การจดทะเบียนทรัพยสิทธิ เป็นต้น
2. การคุ้มครองสิทธิ คือการป้องกันมิให้บุคคลภายนอก เข้ามารบกวนสิทธิของ
ตนซึ่งอาจทำได้โดย
1)การคุ้มครองสิทธิด้วยตนเอง ถึงแม้จะมีกฎหมายที่รับรองและ
คุ้มครองสิทธิให้ แต่ในบางครั้งการที่จะปล่อยให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิแต่ประการเดียวก็อาจจะไม่ทันการบุคคลจึงควรที่จะมีอำนาจที่จะป้องกันสิทธิของเขาด้วยตนเอง โดยไม่มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา เป็นต้นว่าการป้องกันการกระทำโดยจะเป็น การกระทำที่รอบด้วยกฎหมาย การทำลายทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือทำให้บุบสลาย เพื่อป้องกันภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะฉุกเฉิน ตามประมวลกฎหมายอาญา
2)การคุ้มครองสิทธิโดยรัฐ นอกจากการคุ้มครองป้องกันสิทธิโดย
ตนเองดังกล่าวแล้ว สิทธิบางประการเราอาจไม่สามารถคุ้มครองสิทธิได้ด้วยตนเองได้ รัฐจึงเข้ามาเป็นผู้คุ้มครองสิทธิให้ไม่ว่าจะเป็นรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)และฝ่ายตุลาการ(ศาล)และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการที่คุ้มครองสิทธิเป็นที่สุดและเด็ดขาด คือ ถ้าผู้เสียหายถูกละเมิดสิทธิก็สามารถที่จะนำคดีมาฟ้องร้องเพื่อขอความยุติธรรม หรือเป็นทำต่อศาลได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือขอให้ศาลชี้ขาดเพื่อสงวนและคุ้มครองสิทธิของเรา ซึ่งสามารถกระทำได้โดย
(1)การฟ้องคดีอาญา
(2)การฟ้องคดีแพ่ง
(3)การฟ้องคดีปกครอง เป็นต้น
4.4 การโอนสิทธิ
การโอนสิทธิ หมายถึง การเปลี่ยนการทรงสิทธิอย่างใดๆ อันมีอยู่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง แต่เนื่องด้วยสิทธิเกี่ยวกับสภาพบุคคลอยู่ในเกณฑ์ยกเว้นที่มิอายโอนกันได้จึงคงมีการโอนแต่เฉพาะสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน การโอนสิทธินั้นกระทำได้โดยนิติกรรมรูปแบบต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นการจดทะเบียนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น การทำพินัยกรรม ฯลฯ เป็นต้น
4.5 การระงับแห่งสิทธิ
การระงับแห่งสิทธิ หมายถึง การสูญสิ้นไปของตัวสิทธิโดยที่สิทธินั้นไม่มีประโยชน์หรืออำนาจเหลืออยู่ อันบุคคลใดจะสามารถนำมาใช้ต่อไปได้อีก ต่างกับการสูญเสียสิทธิ โดยการโอนสิทธิ หรือการรับช่วงสิทธิ เพราะในกรณีเช่นนั้น สิทธิยังคงอยู่ เป็นแต่เพียงเปลี่ยนตัวผู้ทรงสิทธิเท่านั้น
การระงับแห่งสิทธิ ได้แก่ การขาดตัวผู้ทรงสิทธิ หมายความว่าผู้ทรงสิทธิตายไปสิทธิอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวก็ระงับไป หน้าที่และความผูกพันที่มีอยู่ก็ระงับลง สิทธิซึ่งมีโดยตรงเฉพาะเหนือหน้าที่นั้นก็ระงับไป หรือวัตถุแห่งสิทธิสิ้นไปสิทธินั้นก็ระงับไปด้วยหรือโดยมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้สิทธินั้นระงับโดยอายุความ เช่นการเสียสิทธิเรียกร้องโดยอายุความ การเสียสิทธิในการรับมรดกโดยอายุความ เป็นต้น
5. สิทธิตามกฎหมาย
สิทธิตามกฎหมายนั้นแยกออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ สิทธิตามกฎหมายมหาชนกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
5.1 สิทธิตามกฎหมายมหาชน
“สิทธิ” นั้นมีข้อที่ควรสังเกตว่า “สิทธิ” นั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากฎหมายเอกชนเสมอไป แม้กฎหมายมหาชนก็เป็นที่มาแห่ง “สิทธิ” ได้ ในประเทศเยอรมันในชั้นเดิมก็มีการถกเถียงกันว่า “สิทธิ” จะเกิดจากกฎหมายได้หรือไม่ แต่ในศตวรรษที่ 19 ก็ได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า “สิทธิ” อาจเกิดจากกฎหมายมหาชนได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะของเอกชนที่มีต่อรัฐซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ จึงได้มีการจัดตั้ง “ศาลปกครอง” ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรมธรรมดา เพื่อวินิจฉัยคดีปกครอง กล่าวคือ เพื่อวินิจฉัยการกระทำเจ้าพนักงานในทางปกครองว่า ได้กระทำไปเกินขอบเขตของกฎหมาย หรือโดยใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือใช้ดุลพินิจผิดพลาด ฯลฯ ศาลปกครองนี้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
การรับรองสิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนหมายความว่า รัฐโดยกฎหมายก็ดี ย่อมผูกพันตนเอง เป็นการยอมผูกมัดของอำนาจสาธารณะเพื่อประโยชน์ของเอกชน ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า สิทธิตามกฎหมายมหาชนเป็นสิทธิของราษฎรที่มีต่อรัฐและอำนาจสาธารณะอื่น ๆ เช่น เทศบาล สิทธิดังกล่าวนี้รัฐและผู้ทรงอำนาจสาธารณะอื่นได้รับรองหรือให้แก่ราษฎร และพอจะแยกสิทธิตามกฎหมายมหาชนออกได้ ดังนี้
5.1.1 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางปฏิเสธซึ่งได้แก่สิทธิที่จะป้องปัดและสิทธิในเสรีภาพที่มีต่อรัฐ ซึ่งโดยสิทธินี้ ราษฎรย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐและเจ้าพนักงานของรัฐละเว้นที่จะไม่กล้ำกรายสิทธินี้ สิทธิดังกล่าวนี้ได้แก่สิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
5.1.2 สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลในทางที่จะดำเนินการ
สิทธิที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลในทางที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนที่จะมีต่อรัฐ ดังเช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่ต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภากำหนด ซึ่งเป็นสิทธิในทางการเมืองของรัฐ เป็นต้น
5.1.3 สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ
สิทธิที่จะเรียกร้องการปฏิบัติการบางประการจากรัฐ ดังเช่น
1.สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะขอให้คุ้มครองตนจากการ
กระทำของรัฐต่างประเทศ และจากการกระทำทางการปกครองของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิชอบด้วยกฎหมายในการกระทำทางปกครอง
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้รัฐชดใช้ค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
3.สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดย
1)กำหนดให้การจับกุม คุมขัง การค้นตัวบุคคล หรือกระทำที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จะกระทำได้เฉพาะตามที่กฎหมาบัญญัติ
2)ห้ามทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
3)ห้ามจับโดยไม่มีหมายศาล เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าที่หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. สิทธิจะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
5. สิทธิที่ได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น แต่มีข้อยกเว้น ว่าสิทธินี้อาจถูกจำกัดได้ตามกฎหมาย ถ้าปรากฏว่าการเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
6. สิทธิได้รับการคุ้มครองหรือชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
5.1.4 สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐ
สิทธิของประชาชนที่มีต่อรัฐในทางกลับกันรัฐก็มีสิทธิตามกฎหมายมหาชนต่อประชาชนภายในรัฐ ซึ่งรัฐมีสิทธิที่จะได้รับการเชื่อฟังถ้อยคำและความซื่อสัตย์จากประชาชน ซึ่งรัฐต้องออกเป็นกฎหมายก่อตั้งสิทธิ อาทิเช่น
1. รัฐมีสิทธิที่จะให้ประชาชนเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย
2. สิทธิที่จะเรียกร้องให้ประชาชนรับราชการ
3. สิทธิจะเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีหน้าที่ไปเลือก
ตั้ง เป็นต้น
5.1.5 สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำการบริการ
สาธารณะต่อกันและกัน
สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐกับรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน อาทิเช่น เทศบาลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ข้อสังเกต สิทธิในความสัมพันธ์ระหว่างมีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะต่อกันและกัน ได้แก่
1. ในเรื่อง สิทธิที่เกิดจากกฎหมายมหาชนนี้จะต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นกรณีที่
กฎหมายให้สิทธิไว้หรือไม่ เพราะมีกรณีที่กฎหมายเป็นแต่กำหนดหน้าที่ให้แก่รัฐ โดยมิได้กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ประชาชนให้รัฐ ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งถ้ารัฐจะปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ย่อมเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในรัฐให้ปฏิบัติตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปว่า ในกรณีเป็นที่สงสัย คือ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยแจ้งชัดไม่ให้ใช้สิทธิฟ้องร้อง ให้ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน และเป็นเหตุให้ฟ้องร้องรัฐได้
2. สิทธิตามกฎหมายมหาชนก็เป็นเช่นเดียวกับสิทธิตามกฎหมายเอกชน กล่าวคือจะต้องมีวิถีทางบังคับให้เป็นไปตามสิทธินั้นๆ ได้ ในปัจจุบัน ถ้าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา เช่นศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า การที่หญิงที่ทำการสมรสกับชายต้องใช้นามสกุลของชายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในเรื่องชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ดังนั้นกฎหมายที่กำหนดให้หญิงใช้นามสกุลชายจึงใช้บังคับไม่ได้ถ้าเป็นสิทธิตามกฎหมายปกครอง ก็ได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อวินิจฉัยคดีปกครองเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากศาลยุติธรรม จากศาลทหาร
5.2 สิทธิตามกฎหมายเอกชน
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวในการที่เราจะเข้าใจสิทธิตามกฎหมายเอกชนได้ดี เราจำต้องแยกสิทธิออกไป สิทธิอาจแบ่งได้หลายวิธี ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสิทธิตามผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ ผู้เป็นเจ้าของวัตถุแห่งสิทธิ
การแบ่งประเภทของสิทธินี้เป็นการแยกออกไปตามวัตถุซึ่งสิทธินี้มุ่งถึง โดยอาจแยกอกเป็นสิทธิเกี่ยวกับบุคคล สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว และสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินดังจะได้อธิบายตามลำดับ
5.2.1 สิทธิเกี่ยวกับบุคคลหรือสิทธิเกี่ยวกับเอกชน
สิทธินี้เกี่ยวกับตัวบุคคลของเจ้าของสิทธิเอง สิทธินี้ยังอาจแบ่งออกได้เป็นสองประเภทกล่าวคือ
1. สิทธิแห่งบุคลิกภาพทั่วไป สิทธินี้เกิดจากความคิดเห็นที่ว่า จะต้องยอมรับว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของเขาโดยไม่มีการกีดกั้น สิทธิดังกล่าวนี้คำพิพากษาของศาลต่างประเทศได้ยอมรับ นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดได้รับประทุษร้ายต่อความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ขจัดการรบกวนนั้นได้
2. สิทธิแห่งบุคลิกภาพพิเศษ คือเจาะจงสิทธิเป็นรายสิทธิไป เช่น สิทธิของบุคคลที่จะใช้ชื่อของเขา สิทธิที่บุคคลมีเหนือชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ สิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ สิทธิที่จะขัดขวางมิให้บุคคลมาดักฟังหรือบันทึกเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์
5.2.2 สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งได้แก่ สิทธิเหนือความสัมพันธ์แห่งชีวิตที่กฎหมายกำหนดให้
เจ้าของสิทธิมีสิทธิเหนือบุคคลอื่นโดยคำนึงหน้าที่ทางศีลธรรมของเขา เช่น สิทธิระหว่างสามีภริยา สามีภริยาจำต้องอยู่กินร่วมกัน ฯลฯ ฉะนั้น ผู้ใดจะพาภริยาไปจากการอยู่กินร่วมกันไม่ได้ หรือสิทธิระหว่างบิดากับบุตรได้แก่ อำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ “บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาอำนาจปกครองนั้นอยู่แก่บิดา” สิทธินี้เป็นสิทธิเด็ดขาด(Absolute Right)
5.2.3 สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธินี้มุ่งถึงสิทธิที่เป็นทรัพย์สินให้ไว้เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของเจ้าของสิทธิ สิทธินี้ยังอาจแยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ทรัพยสิทธิ สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่างสิทธิเรียกร้อง และสิทธิเหนือกองมรดก
1. ทรัพยสิทธิ ได้แก่สิทธิเหนือทรัพย์ซึ่งอาจแยกออกเป็น
1) สิทธิของการเป็นเจ้าของ เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิที่คล้ายคลึง
กรรมสิทธิ์ เช่น สิทธิเหนือพื้นดิน
2) สิทธิที่จะได้รับมา เช่น สิทธิของผู้ครอบครองสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ที่จะได้กรรมสิทธิ์ภายหลังที่ได้ครองมาเป็นระยะเวลาห้าปี หรือสิทธิของผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายที่จะได้รับกรรมสิทธิ์ในเมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ตำรวจนครบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีสิทธิที่จะรับทรัพย์สินมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปี หรือสิทธิของเจ้าของที่ดินที่จะตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่ยื่นออกมา และเมื่อได้แจ้งให้เพื่อนบ้านตัดแล้วไม่ย่อมตัด
2. สิทธิเหนือสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ ซึ่งได้แก่ของผู้ประพันธ์ที่จะพิมพ์บทประพันธ์ออกจำหน่าย หรือสิทธิของผู้แต่งบทละครที่จะนำละครออกแสดงหรือสิทธิในเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
3. สิทธิเรียกร้อง ซึ่งได้แก่สิทธิของบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้มีอยู่เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ตน “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมิได้” จะเห็นได้ว่า ในระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมมี “หนี้” (Obligation) และเจ้าหนี้ย่อมเรียกร้องให้ลูกหนี้เท่านั้นที่จะชำระหนี้ให้แก่ตน จะเรียกร้องจากบุคคลอื่นไม่ได้ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เจ้าหนี้มีฐานะอ่อนแอกว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์ เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกทรัพย์จากบุคคลทุกคนที่เอาทรัพย์ของเขาไป
4. สิทธิเหนือกองมรดก ซึ่งได้แก่สิทธิที่จะเข้าครอบครองกองมรดกตามกฎหมาย สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งหมดของบุคคลรวมกันเรียกว่า “กองทรัพย์สิน”
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
หยุด แสงอุทัย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก,
พิมพ์ครั้งที่ 11,2535
สถาบันพระปกเกล้า “สารานุกรมการเมืองไทย” กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร,2547
รัฐบาล หน้าที่ 在 TeamGarryMovieThai Youtube 的精選貼文
►PART 5 : https://www.youtube.com/watch?v=6fasoWW53b0
เรื่องราวที่แสนมันส์เข้มข้นกับพลังและ learn ไปกับลีพุงในเกมส์ "Infamous Second Son" เมื่อ 7 ปีที่แล้วมีกลุ่มเล็กๆเรียกตัวเองว่า "Conduits" พวกที่มีพลังแตกต่างกันออกไป บ้างก็ใช้เป็นอาวุธ บ้างก็ใช้เป็นอะไรต่างๆนานา ดูกันสิว่าลุงพีได้พลังมาจะทำเช่นไร! คำศัพท์ภาษาอังกฤษเบ็ดเตล็ดที่เหลือจะอยู่ใต้ Description นี้นะครับผม เชิญรับชมได้เลยจ้า!
คำศัพท์ -
duty (ดู-ตี้ท์) - หน้าที่ (n.)
citizen (ซิทิเซน) - พลเมือง (n.)
criminals (คริมิเนิลซ์) - มิจฉาชีพ (n.)
clue (คลู) - เบาะแส (n.)
murder (เมอเดอร์) - ฆาตกรรม
investigate (อินเวสติเกต) - สอบสวน , สืบสวน (v.)
scene (ซีน) - ฉาก (n.)
rogue (โร็คก์) - คนโกง , คนพาล (n.)
rough (รัฟฮ์) - หยาบ (adj.) , คนเกเร (n.)
destroy (เดสทรอย) - ทำลาย (v.)
stash (สแตช) - ซ่อน (v.)
forget (ฟอร์เก็ท) - ลืม (v.)
enormous (อีโนเมิส) - มหึมา (adj.)
spire (สไปร์ - เออะ ) - ขดลวด (n.)
symbol (ซิมเบิ้ล) - สัญลักษณ์ (n.)
remain (รีเมน) - ยังคงเหลือ (v.)
suspect (ซัซเปคท์) - สงสัย (v.)
disrupt (ดิสรับท์) - ทำลาย (v.)
impress (อิมเพรส) - ประทับใจ (v.)
conspicuous (คอนสปิคิวเอิส) - เด่น (adj.)
toward (โทเวิรด์) - สู่ , ไปต่อ (prep.)
dealer (ดีลเลอร์) - พ่อค้า , เจ้ามือ (n.)
bond (บอนด์) - พันธบัตร , สายใย , เยื่อใย (n.)
concentrate (คอนเซนเทรต) - ตั้งใจ , มีสมาธิ (v.)
weaken (วีกเคน) - อ่อนตัว (v.)
hide (ไฮด์) - หลบ , ซ่อน (v.)
government (กอเวอร์เมนท์) - รัฐบาล , หน่วยงานรัฐ (n.)
grab (แกร็ปบ์) - จับ (v.)
run (รัน) - วิ่ง (v.)
comfort (คอมฟอรต์) - สบายใจ , อบอุ่น , ดี (v.) ความสุขสบาย (n.)
hook (ฮุค) - ขอ (n.) คล้อง (v.)
drug (ดรักค์) - ยาเสพติด (n.)
withdrawal (วิทฮ์ดรอว) - ถอน (n.)
agony (เเอกอนี่) - ความเจ็บปวดรวดร้าว (n.)
stole (steal) (สโตวล์) - ขโมย (v.)
regular (รีกูลาร์) - ปกติ (adj.)
escape (เอสเคป) - หลบหนี (v.)
skill (สกิลล์) - ทักษะ (n.)
affliction (เอฟฟลิคชั่นท์) - ความทุกข์ (n.)
abandon (อแบนดอน) - ละทิ้ง (v.)
cage (เคจจ์) - กรง (n.)
corrupt (คอรรัปท์) - นำไปทางชั่ว (v.) , ทุจริต (adj.)
redeem (รีดีม) - ไถ่ถอน , กู้ (v.)
dismantle (ดิสแมนเทิล) - รื้อ (v.)
activist (แอคทิวิสต์) - กิจกรรม (n.)
remorseless (รีเมิสเลส) - ไม่สำนึกผิด (adj.)
responsibility (รีสปอนสิบิลิที่) - ความรับผิดชอบ (n.)
tribe (ไทรป์) - เผ่า , ตระกูล (n.)
►เว็บไซต์ , กิจกรรม , ข่าวสาร http://www.unclepakawat.com/
►ติดตามได้อีกช่องทางนึง Google+ http://bit.ly/17RPgod
inFAMOUS SECOND SON #4 - LIGHT IT UP! | โคตรคนเหนือมนุษย์
รัฐบาล หน้าที่ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): หน้าหลัก 的推薦與評價
ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจรในฐานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ โดยมีพันธกิจในการดูแล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล. ... <看更多>
รัฐบาล หน้าที่ 在 หน้าที่ของรัฐบาลหน้าที่ของรัฐบาลคืออะไร? | By Suthichai Live 的推薦與評價
" หน้าที่ ของ รัฐบาล ส่วนใหญ่คือการจัดการบริหาร แบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องและให้เหมาะสม และให้เป็นธรรม นั่นแหละคือ รัฐบาล... ... <看更多>
รัฐบาล หน้าที่ 在 อนาคต "รัฐบาลประยุทธ์" หลังศาลสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่ | คมชัดลึก 的推薦與評價
อนาคต " รัฐบาล ประยุทธ์" หลังศาลสั่งหยุดปฎิบัติ หน้าที่ | คมชัดลึก | 24 ส.ค. 65 | FULL | NationTV22. 558K views 2 months ago. ... <看更多>